การเพิกถอนการให้ หากบุคคลภายนอกรับโอนที่ดินอีกทอดโดยสุจริตจะขอเพิกถอนไม่ได้ |
---|
การให้โดยเสน่หานั้น ผู้ให้อาจเพิกถอนการให้เพราะเหตุพฤติเนรคุณได้ แต่หากว่า ผู้รับการให้ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ไปให้แก่บุคคลภายนอกในระหว่างพิจารณาคดี โดยบุคคลภายนอกไม่ทราบเรื่องเกี่ยวกับการที่ผู้รับการให้จะฟ้องเพิกถอนการให้ ผู้ให้ก็ไม่อาจฟ้องเพิกถอนการทำนิติกรรมระหว่างผู้รับการให้กับบุคคลภายนอกได้ โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา แล้วจำเลยที่ 1 โอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 โจทก์ฟ้องถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณ และขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยอ้างว่าเป็นการสมยอมกันเพื่อฉ้อฉลโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต โจทก์ก็ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
|
จำเลยที่ 2 ที่ 3 อุทธรณ์
|
บทความที่น่าสนใจ |
-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่ -ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก -การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม -การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร -เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น -ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร -ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม -ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้ -การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน -เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร
|